จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

" ขังหลวง " คือ ??

คำว่า "ขังวังหลวง" นั้น มีความหมายคือ การเชิญไปประทับที่ตำหนักในพระบรมมหาราชวัง แต่อาจเสด็จไปที่ต่างๆ ได้ ไม่ได้จำกัดอิสรภาพเช่นผู้ที่ถูกคุมขังทั่วไป เพียงแต่จำกัดอิสรภาพในการเลือกคู่ครอง เพราะถือว่า ได้ทรงถวายตัวเป็นคนของหลวงแล้ว จะไปเสกสมรสกับบุคคลอื่นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับพระบรมราชานุญาต ในสมัย รัชกาลที่ 6 อดีตพระคู่หมั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ก็ทรงถูกขังหลวงเช่นกัน



พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี (พ.ศ. 2435 - พ.ศ. 2494) เป็นอดีตพระคู่หมั้นในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับหม่อมอินทร์ วรวรรณ พระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงวรรณวิมล วรวรรณ และมีพระนามเรียกกันในหมู่พระญาติว่า “เตอะ” หรือ “ขาว” หม่อมเจ้าหญิงวัลลภาเทวี ทรงเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้ง แรกที่ห้องทรงไพ่บริดจ์ในงานประกวดภาพเขียน ณ โรงละครวังพญาไท จึงทรงสถาปนาหม่อมเจ้าวัลลภาเทวี ขึ้นเป็น พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีพระคู่หมั้น เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 พร้อมพระราชทานตราปฐมจุลจอมเกล้า และมีพระบรมราชโองการว่า "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสถิต ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณอันเป็นมหินทรสมาคมแห่งองคมนตรี มีทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีมุขมนตรี เสนามาตย์ราชเสวก ชุมนุมเฝ้าเบื้องพระยุคลบาท ทรงพระราชปรารภถึงการที่จะได้กระทำพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในภายหน้าและเวลา นี้ได้ทำพระราชพิธีหมั้นแล้ว เป็นการสมควรที่จะให้เป็นไปตามเหตุการณ์นี้ชั้นหนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมเจ้าหญิงวัลลภาเทวีเป็น พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ตั้งแต่นี้สืบไป ขอให้เจริญทฤฆชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสมบัติ อิสสริยยศศักดิ์เดชานุภาพมโหฬาร รับราชการฉลองพระเดชพระคุณ โดยสมควรแก่ความเป็นในพระบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์ในพระบรมราชวงศ์นี้ทุกประการ" ขณะที่ได้รับสถาปนาเป็นพระคู่หมั้นนั้น พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมีพระชันษา 28 ชันษา ส่วนพระบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ 40 พรรษา พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ทรงมีความคิดที่ล้ำสมัยสตรีไทยในยุคนั้น ทรงเขียนบทความชื่อ "ดำริหญิง" ในหนังสือดุสิตสมิธรายสัปดาห์เมื่อ พ.ศ. 2463 ในทำนองส่งเสริมให้สตรีมีความเท่าเทียมกับบุรุษ เพราะสตรีก็มีความสามารถ และจะอุ้มชูหรือชักบุรุษให้ต่ำลงก็ทำได้ ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก กับทั้งยังมีพระวิสัยถือพระองค์ เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธ และประพันธ์กลอนเชิงบริภาษว่า

อย่าทะนงอวดองค์ว่างามเลิศ สวยประเสริฐยากที่จะเปรียบได้ อย่าทะนงอวดองค์ว่าวิไล อันสุรางค์นางในยังมากมี อย่าทะนงอวดองค์ว่าทรงศักดิ์ จะใฝ่รักแต่องค์พระทรงศรี นั่งรถยนต์โอ่อ่าวางท่าที เป็นผู้ดีแต่ใจไพล่เป็นกา อย่าดูถูกลูกผู้ชายที่เจียมตน อย่าดูถูกฝูงชนที่ต่ำกว่า อย่าทะนงอวดองค์ว่าโสภา อันชายใดฤๅจะกล้ามาง้องอน

ครั้นแล้วจึงมีพระบรมราชโองการให้ถอนหมั้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2464 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ความตอนหนึ่งว่า "...มีความเสียพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาทรงทราบตระหนักแน่ชัดขึ้นว่า การจะไม่เป็นไปโดยเรียบร้อย สมพระราชประสงค์อันดีที่กล่าวมาแล้ว เพราะเหตุที่พระราชอัธยาศัยของพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมิได้ต้องกัน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมีพระโรคประจำพระองค์อันเป็นไปใน ทางพระเส้นประสาทไม่ปรกติ ทรงพระราชดำริว่า ถ้าแม้จะคงให้การดำเนินต่อไปจนถึงกระทำการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ก็อาจจะมีผลอันไม่พึงปรารถนา..." และแล้วก็มีพระบรมราชโองการ ให้ท้าวนางจ่าโขลนนำโซ่ตรวนทองคำไปจับกุมพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมายังพระบรมมหาราชวัง แต่ด้วยทรงพระทิฐิมานะ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีจึงไม่ทรงทูลขอพระราชทานอภัย ด้วยเหตุนี้ จึงทรงถูกจำขังลงโซ่ตรวนทองคำอยู่ในพระบรมมหาราชวังนับแต่นั้นจนตลอดทั้งรัชกาล เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ต่อมาจึงมีพระบรมราชโองการให้ปลดปล่อยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ออกจากพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานวังที่ประทับให้อยู่บริเวณสี่แยกพิชัย ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระบิดา ประทานชื่อว่า พระกรุณานิเวศน์ ขณะทรงได้รับการปล่อยออกมานั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี มีพระชนมายุ 33 พรรษา ทรงประทับอยู่ที่พระกรุณานิเวศน์ และสนพระทัยในพระพุทธศาสนาตลอดมา








4 ความคิดเห็น:

  1. เพิ่งเข้าใจว่าขังหลวง หมายความว่ายังงั้เองค่ะ

    พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี

    ทรงมีพระทัยเข็มแขํงจัง

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณ นาย ที่ให้ข้อมูลค๊าบ สิทธิสตรีในวังน๊ะเนี่ย พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีทรง กล้าหาญมากๆอ่ะ

    ตอบลบ