จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในราชสำนัก ตอน ประวัติการสร้างพระบรมมหาราชวัง



พระบรมมหาราชวังเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2325 เมื่อแรกมีเนื้อที่ประมาณ 132 ไร่ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ( พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ) และต่อมาในสมัยของ รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พ.ศ.2352 ได้โปรดเกล้าฯให้ขยายอาณาเขตพระบรมมหาราชวังไปทางทิศใต้ในเขตที่ตั้งเคหะ สถานของเสนาบดีจนจดเขตวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามและให้สร้างถนนกั้นเป็น เขตระหว่างพระบรมมหาราชวังและวักพระเชตุพนฯ มีชื่อว่า ถนนท้ายวัง มีพื้นที่ขยายใหม่ประมาณ 20 ไร่ 2 งาน รวมเนื้อที่ของพระบรมมหาราชวังตั้งแต่แรกสร้างทั้งสิ้น 152 ไร่ 2 งาน การขยายพระบรมมหาราชวังในครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯให้สร้างกำแพงต่อจากแนว กำแพงเดิม และสร้างป้อมขึ้นมาใหม่ที่มุมและระหว่างกำแพงกลางรวมทั้งรื้อประตูของเดิม และสร้างขึ้นใหม่อีกหลายแห่ง พร้อมทั้งพระราชทางชื่อป้อมและประตูที่สร้างขึ้นใหม่ ให้คล้องจ้องกับชื่อป้อมและประตูของเดิม ในการสร้างพระบรมมหาราชวังในครั้งนี้พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นคล้ายคลึงกับพระราชวังหลวงที่กรุงศรีอยุธยามากที่สุด กล่าวคือในบริเวณภายในพระบรมมหาราชวังจะแบ่งเป็น 3 ส่วน


พระราชฐานชั้นนอก


ซึ่งเป็นที่ทำการของสมุหนายก สมุหกลาโหมและหน่วยงานต่างๆรวมทั้งทหารรักษาวังด้วย บริเวณดังกล่าวนี้ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่ ประตูพิมานเทเวศร์ ถึง ประตูสุวรรณบริบาล และ ประตูวิเศษไชยศรี ถึง ประตูพิมานชัยศรี


พระราชฐานชั้นกลาง


มีบริเวณอยู่ในส่วนกลางของพระบรมมหาราชวังด้านทิศเหนือติดต่อกับพระราชฐานชั้นนอกและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้านทิศใต้ต่อเนื่องกับเขตพระราชฐานชั้นใน ในส่วนนี้เป็นที่ตั้งของพระปราสาทพระราชมณเฑียรสถาน ซึ่งเป็นอาคารที่สำคัญสูงสุดในพระบรมมหาราชวัง ในอดีตเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และเป็นที่เสด็จออกขุนนางเพื่อบริหารราชการแผ่นดินในการปกครองประเทศ ในปัจจุบันพระมหากษัตริย์ได้เสด็จฯไปประทับที่พระราชวังอื่นเป็นส่วนมาก พระมหาปราสาท และพระราชมณเฑียรสถานจึงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีที่สำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีฉัตรมงคล และพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และยังเป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะอีกด้วย ในเขตพระราชฐานชั้นกลางจะมีพระที่นั่งอินทราภิเษกมหาปราสาทเป็นพระที่นั่งที่พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นองค์แรกในพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ. 2326 สำเร็จลงใน พ.ศ. 2328 แต่ใน พ.ศ. 2332 ได้เกิดฝนตกฟ้าผ่าตรงมุขเด็จพระที่นั่งทำให้เกิดเพลิงไหม้ที่เครื่องบนพระมหาปราสาท และไฟได้ลามไหม้จนหมดองค์ จึงโปรดเกล้าฯให้รื้อออกทั้งองค์ และสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทองค์ปัจจุบันขึ้นแทน นอกจากที่ยังมี พระที่นั่งพิมานรัตยา พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท พระที่นั่งราชกรณยสภา หมู่พระมหามณเฑียรได้แก่ พระที่นั่งจักพรรดิพิมาน พระที่นั่งเทพสถานพิลาศ พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ พระที่นั่งสนามจันทร์ พระที่นั่งราชฤดี หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งในที่นี้จะอธิบายต่อไปเพราะต้องกล่าวรวมกับเขตพระราชฐานชั้นในด้วย นอกจากนี้ยังมีพระที่นั่งอื่นๆ เช่น พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญได้เปลื่ยนนามพระที่นั่งเป็นพระที่นั่งบรมพิมานตราจนทุกวันนี้ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ปราสาท พระที่นั่งไชยชุมพล เขตพระราชฐานชั้นกลาง ตั้งแต่ประตูพิมานไชยศรี ถึง ประตูสนามราชกิจ


พระราชฐานชั้นใน ( ซึ่งจะกล่าวให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ)


มีบริเวณอยู่ทางทิศใต้ของพระบรมมหาราชวังเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับพระราชฐานชั้นกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระมหาปราสาทและพระราชมณเฑียรสถาน ด้านหลังและด้านข้างของพระราชฐานชั้นในโอบล้อมด้วยอาคารสูง 2 ชั้นซึ่งทำหน้าที่เป็นกำแพงพระราชวังชั้นในไปด้วยในตัว กำแพงดังกล่าวนี้ด้านนอกไม่มีหน้าต่างหรือช่องเปิดใดๆทั้งสิ้น ในอดีตพระราชฐานชั้นในเป็นเขตหวงห้ามสำหรับบุคคลภายนอกโดยเฉพาะ บุรุษเพศ ยกเว้นแต่พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชโอรสที่ยังมิได้โสกันต์ ( ตัดจุก ) หรือเด็กชายที่มีอายุไม่เกิน 10 ปี แต่ถ้ามีกิจธุระจำเป็นต้องขออนุญาติไปตามลำดับขั้นตอนจึงจะมีสิทธิ์เข้าได้ ในปัจจุบันข้อห้ามเหล่านั้นได้ผ่อนคลายลงแต่ก็ยังเป็นเขตหวงห้าม ที่มีระเบียบแบบแผนใช้ปฏิบัติต่อไป ในอดีตพระราชฐานชั้นในเป็นที่ประทับของ พระมเหสีเทวี พระราชธิดา ในพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ ตลอดจนเป็นที่อยู่ของพระสนมกำนัล เจ้าจอม ข้าหลวงและข้าราชการที่เป็นหญิงล้วน นอกจากนั้นยังมีเด็กหญิงวัยต่างๆ มีทั้งหม่อมเจ้าซึ่งเป็นพระธิดาในเจ้านายพระองค์ชาย และธิดาในเชื้อพระวงศ์หลายระดับ ตลอดจนธิดาของขุนนางและข้าราชการที่นิยมส่งบุตรีเข้ามาศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่าน รวมทั้งอบรมเรื่องการบ้านการเรือน ฝึกหัดมารยาท พระราชฐานชั้นในก็เปรียบเสมือนเมืองเล็กๆที่มีพลเมืองเป็นหญิงล้วนๆ มีระเบียบแบบแผนและความเป็นอยู่ของตนเอง ที่กลายเป็นต้นแบบของวัฒนธรรมประเพณียุคหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์.



dekpakdee
21-11-53

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น