หลังจากบทความเรื่อง " ขังหลวง " ปรากฎให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกันแล้ว ก็ปรากฎว่าเป็นที่สนใจของพี่ๆที่อยู่ต่างแดนกัน กับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของราชสำนักไทย วันนี้จึงขอเสนอภาคต่อมาให้ได้ติดตามกันอีก ภาคนี้จะเป็นปฐมเหตุให้เกิด " ขังหลวง " ในรัชกาลที่ 6 ยังไงก็มาลองติดตามกันครับ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลภาเทวี อดีตพระคู่หมั้นใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงวรรณวิมล วรวรรณ หรือท่านหญิงเตอะ ( แปลว่าขาว ) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระเจ้าอยู่หัวทรงพบกับหม่อมเจ้าหญิงท่านนี้ครั้งแรกที่งานแสดงภาพเขียน ในพระราชวังพญาไท ต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2463 ทรงสถาปนาหม่อมเจ้าหญิงวรรณวิมลขึ้นเป็น พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลภาเทวี ในที่พระคู่หมั้น พร้อมกับพระราชทานตราปฐมจุลจอมเกล้า( ฝ่ายใน) พร้อมกับ รับสั่งให้พระวรกัญญาปทานประทับในพระตำหนักจิตลดารโหฐาน ในขณะที่พระองค์ประทับยังพระราชวังพญาไท ที่อยู่ใกล้กัน ในเวลานั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนที่ใด ก็จะมีพระวรกัญญาปทานตามเสด็จด้วยทุกครั้ง รวมทั้งเมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงละครในเรื่องโพงพาง และศกุนตลา พระคู่หมั้นก็ทรงร่วมแสดงด้วย ในเรื่องศกุนตลานั้น ทรงพระราชทานแก่พระวรกัญญาปทานและมีพระราชนิพนธ์คำอุทิศให้ว่า
นาฏกะกลอนนี้ฉันมีจิต
ขออุทิศแด่มิ่งมารศรี
ผู้เป็นยอดเสน่หาจอมนารี
วัลลภาเทวีคู่ชีวัน
ขอหล่อนจงรับไมตรีสมาน
เป็นพยานความรักสมัครมั่น
เหมือนแหวนแทนรักทุษยันต์
แก่จอมขวัญศกุนตลาไซร้
แต่ผิดกันตัวฉันไม่ลืมหล่อน
จนสาครเหือดแห้งไม่แรงไหล
จนตำวันเดือนดับลับโลกไป
จะรักจอดยอดใจจนวันตาย
ขออุทิศแด่มิ่งมารศรี
ผู้เป็นยอดเสน่หาจอมนารี
วัลลภาเทวีคู่ชีวัน
ขอหล่อนจงรับไมตรีสมาน
เป็นพยานความรักสมัครมั่น
เหมือนแหวนแทนรักทุษยันต์
แก่จอมขวัญศกุนตลาไซร้
แต่ผิดกันตัวฉันไม่ลืมหล่อน
จนสาครเหือดแห้งไม่แรงไหล
จนตำวันเดือนดับลับโลกไป
จะรักจอดยอดใจจนวันตาย
เรื่องราวดูจะจบลงด้วยดีในสายตาของพสกนิกรผู้ได้พบเห็น แต่แล้ว 6 เดือนต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถอนหมั้นพระวรกัญญาปทาน ด้วยเหตุผลที่ว่า พระอัธยาศัยไม่ต้องกัน และ ยังทรงแต่กลอนตรัสบริภาษ ว่า
"อย่าทะนงอวดองค์ว่างามเลิศ
สวยประเสริฐยากที่จะเปรียบได้
อย่าทะนงอวดองค์ว่าวิไล
อันสุรางค์นางในยังมากมี
อย่าทะนงอวดองค์ว่าทรงศักดิ์
จะใฝ่รักแต่องค์พระทรงศรี
นั่งรถยนต์โอ่อ่าวางท่าที
เป็นผู้ดีแต่ใจไพล่เป็นกา
อย่าดูถูกลูกผู้ชายที่เจียมตน
อย่าดูถูกฝูงชนที่ต่ำกว่า
อย่าทะนงอวดองค์ว่าโสภา
อันชายใดฤๅจะกล้ามาง้องอน
การสิ่งนี้สิเป็นธรรมดา
มนุษย์เราเกิดมาย่อมผันผ่อน
รู้จักรักรู้จักกินรู้จักนอน
รู้ตระแหน่แง่งอนทุกคนไป"
สวยประเสริฐยากที่จะเปรียบได้
อย่าทะนงอวดองค์ว่าวิไล
อันสุรางค์นางในยังมากมี
อย่าทะนงอวดองค์ว่าทรงศักดิ์
จะใฝ่รักแต่องค์พระทรงศรี
นั่งรถยนต์โอ่อ่าวางท่าที
เป็นผู้ดีแต่ใจไพล่เป็นกา
อย่าดูถูกลูกผู้ชายที่เจียมตน
อย่าดูถูกฝูงชนที่ต่ำกว่า
อย่าทะนงอวดองค์ว่าโสภา
อันชายใดฤๅจะกล้ามาง้องอน
การสิ่งนี้สิเป็นธรรมดา
มนุษย์เราเกิดมาย่อมผันผ่อน
รู้จักรักรู้จักกินรู้จักนอน
รู้ตระแหน่แง่งอนทุกคนไป"
ยังพระราชทานโซ่ทองคำแก่นางเฒ่าแก่และโขลน ไปเกาะพระวรกัญญษปทานมาติดศาลาภายในพระบรมมหาราชวัง ( เรียกว่าจำสนม คือ การลงโทษแก่ฝ่ายในที่ทำผิด ) หรือ " ขังหลวง " โดยสาเหตุที่ต้องโทษนั้น เป็นเพราะพระวรกัญญาปทานนั้นไม่พอพระทัยพระเจ้าอยู่หัว ( ไม่แน่ชัดว่าเรื่อง ใด ) จึงทรงคั่นหน้าบทละครเรื่อศกุนตลาและขีดเส้นเน้นข้อความในตอน ฤษีทุรวาสสาปท้าวทุษยันต์ให้ลืมนางศกุนตลา ว่า
"ทรงภพผู้ปิ่นโปรพฦาสาย
พระองค์เองสิไม่มียางอาย
พูดง่ายย้อนยอกกรอกคำ
มาหลอกลวงชมเล่นเสียเปล่าๆ
ทิ้งให้คอยสร้อยเศร้าทุกเช้าค่ำ
เด็ดดอกไม้มาดมชมจนช้ำ
ไม่ต้องจดจำนำพา
เหมือนผู้ร้ายย่อเบาเข้าลักทรัพย์
กลัวเขาจับวิ่งปร๋อไม่รอหน้า
จงทรงพระเจริญเถิดราชา
ข้าขอลาแต่บัดนี้"
พระองค์เองสิไม่มียางอาย
พูดง่ายย้อนยอกกรอกคำ
มาหลอกลวงชมเล่นเสียเปล่าๆ
ทิ้งให้คอยสร้อยเศร้าทุกเช้าค่ำ
เด็ดดอกไม้มาดมชมจนช้ำ
ไม่ต้องจดจำนำพา
เหมือนผู้ร้ายย่อเบาเข้าลักทรัพย์
กลัวเขาจับวิ่งปร๋อไม่รอหน้า
จงทรงพระเจริญเถิดราชา
ข้าขอลาแต่บัดนี้"
โดยใจอาจจะเพียงตัดพ้อพระเจ้าอยู่หัว แต่พระองค์ทรงกริ้วมาก เนื่องจากเป็นของพระราชทานแทนจิตประดิพัทธ์ของพระองค์ กระนั้น หากพระวรกัญญาปทานจะละฐิลงและขอพระราชทานอภัยโทษ เชื่อแน่ว่าพระเจ้าอยู่หัวจะทรงยอมให้เป็นแน่ แต่พระวรกัญญาปทานนั้นไม่ทรงขออภัยโทษ และยังห้ามให้ผู้ใดทูลขอแทนด้วย ดังนั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสให้ออกพระนามอดีตคู่หมั้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี จวบจนเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ พระราชทานอภัยโทษแก่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ในรัชกาลของพระองค์นั่นเอง มีการคาดเดาถึงสาเหตุที่พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงถอนหมั้นพระวรกัญญาปทานหลายด้านด้วยกัน บาง คนกล่าวว่าเป็นเพราะด้วยนิสัยของสตรีที่วู่วามและหึงหวง เมื่อทรงมีโปรดการสนทนากับหม่อมเจ้าลักษมีลาวัณย์ ( ท่านหญิงติ๋ว พระขนิษฐา ) จึงไม่พอใจและตัดพ้อพระเจ้าอยู่หัว แต่บางกระแสก็กล่าวว่าเป็นเพราะพระวรกัญญปทานนั้น แสดงกริยาและกล่าวดูถูกมหาดเล็กหุ้มแพร คนสนิทของพระเจ้าอยู่หัว ( พระยารามราฆพ ) จนพระเจ้าอยู่หัวทรงกริ้ว แต่ความจริงจะเป็นเช่นไรนั้น ก็คงมีเพียงทั้งสองพระองค์เท่านั้นที่รู้ นี่คือเรื่องราวคร่าวๆ ต่อไปจะย่อขยายให้เต็มอิ่ม
คำว่า "ขังวังหลวง" นั้นเป็นเพียงคำเปรียบเปรยครับ มิใช่ส่งไปคุมเข้าห้องขังจริงๆ ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ทรงหมั้นกับพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีแล้ว โปรดให้ย้ายมาประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อทรงเลิกการหมั้นกันแล้ว พระวรกัญญาปทานฯ ก็ยังประทับอยู่ที่พระตำหนักจิตรลดารโฆฐานอยู่อีกชั่วระยะดวลาหนึ่ง แต่ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐานนั้นมักจะมีฟ้าลงอยู่บ่อยๆ เรื่องนี้พระมหาเทพกษัตรสมุห ( เนื่อง สาคริก ) เคยเล่าให้ฟังว่า เพราะเหตุที่ฟ้าลงบ่อยๆ นี้เอง ล้นเกล้าฯ จึงไม่โปรดที่จะประทับที่พระตำหนักนี้ เหตุที่ฟ้าลงบ่อยนั้นมีการสำรวจแล้วพบว่า มีสายแร่ทองแดงอยู่ใต้ดินครับ การที่โปรดให้ย้ายไปประทับในวังหลวงนั้นไม่ทราบชัดว่าประทับที่ตำหนักองค์ใด ทราบเพียงว่าเมื่อเปลี่ยนรัชกาลใหม่ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ โปรดให้ย้ายออกมาประทับที่เรือนหลวงริมถนนพิชัยตัดกับถนนราชวิถี ซึ่งกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์พระบิดาประทานชื่อว่า "พระกรุณานิวาสน์" ได้ประทับมาตราบสิ้นพระชนม์ เรื่องการย้ายที่ประทับนี้ดูเหมือนจะ เป็นธรรมเนียมในสมัยนั้น เมื่อทรงเลิกการหมั้นกับพระวรกัญญาปทานฯ แล้ว ก็โปรดให้หม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ ย้ายมาประทับที่ตำหนักปารุสกวัน ของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งเวลานั้นเสด็จทิวงคตแล้ว เมื่อโปรดสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี ขึ้นเป็นพระบรมราชินีแล้ว ก็โปรดให้พระนางเธอลักษมีลาวัณย้ายไปประทับที่ตำหนักลักษมีวิลาสที่มุมถนน พญาไทตัดกับถนนศรีอยุธยา และยังได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมและประทับเสวยเครื่องว่างรวมทั้งพระกระยาหารด้วยเสมอๆ ในกรณีสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีนั้น เมื่อทรงราชาภิเษกสมรสกับพระนางเจ้าสุวัทนาแล้ว ก็โปรดให้สมเด็จอินทร์ประทับที่พระราชวังพญาไทต่อมา จนมีพระราชดำริที่จะพระราชทานพระราชวังพญาไทให้กรมรถไฟหลวงจัดเป็นโฮเต็ล จึงโปรดให้สมเด็จอินทร์ย้ายไปประทับที่พระที่นั่งวิมานเมฆ และเมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จอินทร์ก็ทรงย้ายกลับไปประทับที่ตำหนักเดิมที่ปากคลองภาษีเจริญจนสิ้นพระชนม์ เน้นเรื่อง "ขังวังหลวง" จึงเป็นคำเปรียบเปรยที่พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ทรงประชดประชันล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 มากกว่าจะเป็นเรื่องจำขังกันจริงๆ
ธรรมเนียมในพระราชสำนักแต่โบราณมานั้น ถือว่าบุคคลใดไม่ว่าชายหรืแหญิงเมื่อได้ถวายตัวแล้วถือว่าบุคคลนั้นตกเป็น คนของหลวงหรือของเจ้านายพระองค์นั้นๆ การจะโปรดให้ทำอย่างไรหรือย้ายไปอยู่ที่ไหนจึงสุดแต่พระราชอัทธยาศัยหรือ พระอัทธยาศัย เรื่องคนหลวงนี้มีเรื่องจริงที่พอจะยกเป็นตัวอย่างได้ เรื่องหนึ่ง คือ เรื่องของจมื่นอมรดรุณารักษ์ ( แจ่ม สุนทรเวช ) กับคุณอุทุมพร วีระไวทยะ ธิดาของพระยาดำรงแพทยาคุณ ( ฮวด วีระไวทยะ ) แพทย์ประจำพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนี พันปีหลวง กับคุณหญิงสงวน ดำรงแพทยาคุณ เมื่อพระยาดำรงแพทยาคุณได้ ถวายคุณอุทุมพรเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระพันปีหลวงแล้ว คุณอุทุมพรก็ย้ายเข้าไปอยู่ในพระราชสำนักสมเด็จพระพันปีหลวง และโปรดให้ไปศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนราชินี โรงเรียนเลิกก็กลับไปอยู่ที่วังพญาไท เมื่อสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสวรรคตคุณอุทุมพรจึงได้ถวายบังคมลากลับมาอยู่ บ้านกับมารดา เพราะบิดาเพิ่งถึงอนิจกรรมไปก่อนสมเด็จพระพันปีหลวงสวรรคตไม่นาน คุณ อุทุมพรได้รู้จักกับนายรองกวด ( แจ่ม สุนทรเวช ) โดยการแนะนำของญาติผู้พี่ท่านหนึ่ง แล้วก็เกิดชอบพอกันมากับนายรองกวด แต่แล้ววันหนึ่งคุณอุทุมพรต้องเดินทางไปนครปฐมกับคุณหญิงสงวน ผู้มารดา การเดินทางไปนครปฐมคราวนี้ทำให้ท่านเจ้าคุณผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมซึ่ง เป็นม่ายมาหมาดๆ ได้พบกับคุณอุทุมพรและได้จัดคนมาสู่ขอคุณอุทุมพรไปเป็นคุณหญิงของท่าน คุณ อุทุมพรจึงได้แจ้งให้นายรองกวดซึ่งได้เลื่อนเป็นนายเล่ห์อาวุธแล้วทราบข่าว ดังกล่าว นายเล่ห์อาวุธทราบข่าวแล้วก็คิดไม่ตกไม่ทราบว่าจะหาทางออกได้อย่างไร จึงได้หาโอกาสนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ทรงทราบความตลอดแล้วมีรับสั่งให้คุณท้าวอินทรสุริยา ( ม.ล.เชื้อ พึ่งบุญ ) คุณพนักงานพระภูษาไปเจรจากับคุณหญิงสงวน แต่คุณหญิงสงวนท่านว่า ได้ตกลงไปกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมแล้ว เกรงจะเสียผู้ใหญ่ จึงได้มีพระบรมราชโองการให้หาคุณหญิงสงวนไปเฝ้าฯ ซึ่งคุณอุทุมพรได้เล่าไว้ว่า
เมื่อกลับจากเฝ้าในวันนั้นคุณแม่เล่าทั้งน้ำตาว่า ในหลวงทรงอ้างสิทธิครอบครองในตัวดิฉัน โดยคุณแม่ได้ถวายสมเด็จพระพันปีหลวงทรงชุบเลี้ยงมา เมื่อสิ้นสมเด็จพระพันปีหลวงแล้วดิฉันก็เป็นพระราชมรดกตกทอดที่เป็นคนของ หลวง เรียกว่า “ห้าม” คุณแม่จึงหมดสิทธิ์ที่จะเอาไปยกให้ใครก็ได้ มีพระราชดำรัสว่า พวกห้ามนี้ถ้าใครอยากจะได้ก็ต้องทำหนังสือขอพระราชทาน มีจานเงินจานทอง ๑ คู่ ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ๑ คู่ แล้วนำทูลเกล้าฯ ถวายเข้ามาตามลำดับ ซึ่งเป็นประเพณีมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะพระราชทานเสมอไป การที่จะพระราชทานหรือไม่นั้นย่อมสุดแต่พระบรมราชวินิจฉัย ทั้งทรงอ้างสิทธิมนุษยชนที่ว่าบุคคลแม้จะเป็นใหญ่หรือบุพการีก็ตาม ไม่ควรบังคับกดขี่น้ำใจใคร มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ในตัวของตัวเอง ที่จะเลือกเคารพบูชาหรือรัก สรรเสริญบุคคล ชาติ ลัทธิ ศาสนาใดๆ ได้ จึงควรที่ผู้เจริญแล้วจะเข้าใจและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยกัน เป็นอันว่าคุณแม่แพ้คดีถึงสองกระทง แต่ล้นเกล้าฯ ก็ทรงมีพระมหากรุณาทรงปลอบคุณแม่ว่า ขออย่าเสียใจและเข้าใจผิด การครั้งนี้ท่านไม่ได้ทรงกระทำอย่างเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินที่ใช้พระราชอำนาจกด ขี่ข่มเหงราษฎร แต่ทรงสงสารที่ทั้งสองคนรักกันและทรงมีเหตุผลประกอบอันสมควร จึงขอให้คุณแม่จงสบายใจว่าจะทรงรับเป็นเจ้าภาพฝ่ายชาย และจะพระราชทานความช่วยเหลือทุกอย่างที่คุณแม่เดือดร้อน ทรงรับรองว่าจะชุบเลี้ยงทั้งดิฉันและนายเล่ห์อาวุธไม่ให้ต้องอับอายไปในภาย หน้า หลังจากนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ดิฉันเข้ารับราชการในบางโอกาสเวลามีงานหลวงใหญ่ๆ ที่เชิญเสด็จพระบรมวงศ์ฝายในบ่อยๆ เช่น งานวังปารุสกวัน งานวังพญาไท ครั้งหนึ่งพระวรชายา ( สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ) เคยทรงกริ้วว่าใครเอาข้าหลวงพระนางลักษมี ( พระนางเธอลักษมีลาวัณ ) มาใช้ ล้นเกล้าฯก็ทรงแก้ว่าดิฉันเป็นข้าหลวงเสด็จแม่ต่างหาก แล้วในที่ สุดล้นเกล้าฯ ก็ทรงรับเป็นเจ้าภาพฝ่ายชายจัดการสมรสพระราชทานให้แก่นายเล่ห์อาวุธซึ่งเวลา นั้นได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น นายจ่ารง กับคุณอุทุมพร วีระไวทยะ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2467 เรื่องการถวายจาน เงินจานทองตามธรรมเนียมนั้นยังปรากฏในจดหมายเหตุรายวันส่วนพระองค์ว่า ครั้งที่โปรดให้มีการสมรสพระราชทานแก่ พระสุจริตธำรง (สวาท สุจริตกุล) กับนางสาวจรัส อภัยวงศ์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2466 นั้น โดยที่นางสาวจรัส อภัยวงศ์ได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี "จึ่งมีการถวายจานเงินจานทองและของต่างๆ ตามแบบเก่าด้วย"
ส่วนเรื่องที่คาดเดากันว่าอาจจะเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ไม่ทรงพอพระทัยนั้น คือเรื่องพระวรกัญญปทาน แสดงกริยาและกล่าวดูถูกมหาดเล็กหุ้มแพร คนสนิทของพระเจ้าอยู่หัว ( พระยารามราฆพ ) ก็มีการเล่าขานสืบต่อมาดังจะกล่าวนี้ ซึ่งตามที่ได้ยินได้ฟังมานั้น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ โดยรถยนต์หรือรถม้าไม่แน่ชัดพร้อมด้วยพระวรกัญญาปทาน โดยมีเจ้าพระยารามราฆพซึ่งเวลานั้นยังเป็นพระยาประสิทธิ์ศุภการ ผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์โดยเสด็จฯ ตามตำแหน่ง เมื่อถึงที่หมายเจ้าพระยารามฯ ลงไปรอรับเสด็จที่ประตูรถตามหน้าที่ เมื่อพระวรกัญญาปทานจะเสด็จลงจากพระราชพาหนะก่อนที่ล้นเกล้าฯ จะเสด็จลง เจ้าพระยารามฯ ได้ยื่นมือไปรอรับเสด็จเพื่ออำนวยความสะดวกในเวลาเสด็จลงจากรถตามธรรมเนียม ฝรั่ง พระวรกัญญาปทานทรงชักพระหัตถ์หนีพร้อมมีรับสั่งตำหนิเจ้าพระยารามฯ ด้วยถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม ล้นเกล้าฯ จึงกริ้วและเป็นเหตุให้ทรงถอนหมั้นพร้อมกับทรงพระราชนิพนธ์บทประพันธ์ที่มี การหยิบยกขึ้นมานั้น เท่าที่ได้ทราบมานั้น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ทรงเป็นสุภาพบุรุษที่ทรงให้ความสำคัญกับสุภาพสตรี ถึงกับทรงพระราชนิพนธ์บทความเกี่ยวกับสถานภาพสตรีไปลงในหนังสือพิมพ์พระราช ทานชื่อว่า "เครื่องหมายแห่งความเจริญรุ่งเรือง คือสถานภาพแห่งสตรี" นอกจากนั้นยังทรงสอนคุณพนักงานฝ่ายในให้รู้จักเล่นไพ่ต่างๆ รวมทั้งบิลเลียดและสนุกเกอร์ ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช และคุณหญิงสุภัทรา สิงหลกะ คุณข้าหลวงเก่าเคยเล่าให้ฟังว่า มักจะรับสั่งกับคุณพนักงานว่า ที่ทรงสอนให้รู้จักการเล่นต่างๆ นั้นก็เพื่อว่า เวลาที่คุณพนักงานนั้นออกเรือนไปมีครอบครัวแล้วจะได่ไม่ถูกสามีหลอก หรือ เมื่อครั้งที่จะโปรดให้ออกพระนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี เมื่อตอนปลายรัชกาลนั้น ก็ได้มีพระราชหัตถเลขาทรงชี้แจงไปยังเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ( ปลื้ม สุจริตกุล ) ผู้เป็นบิดาของสมเด็จฯ พระราชหัตถเลขาองค์นั้นยาวถึง 6 หน้า วันหนึ่งทายาทของเจ้าพระยาสุธรรมฯ คนหนึ่งได้เชิญลายพระราชหัตถ์นั้นมาให้อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการท่านหนึ่ง อ่าน แต่ผมซึ่งนั่งอยู่ ณ ทั้นั้นด้วยไม่มีบุญได้อ่าน คงได้ยินแต่ท่านอดีตปลัดกระทรวงฯ อุทานว่า อ่านแล้วซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเหลือเกิน
ฉะนั้นเรื่องที่ล้น เกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ทรงถอนหมั้นพระวรกัญญาปทานนั้น คงจะมีที่มาจากสาเหตุหลายเรื่อง ถ้าพิเคราะห์จากบทพระราชนิพนธ์แล้ว น่าเชื่อว่า พระอัทธยาศัยคงจะไปด้วยกันไม่ได้เลย เพราะล้นเกล้าฯ นั้นทรงเป็นนักเรียนอังกฤษ ทรงถูกฝึกหัดมาให้เป็นผู้นำ และวิธีการฝึกหัดผู้นำของอังกฤษนั้น ต้องได้รับการฝึกหัดให้เป็นผู้ตามที่ดีก่อน และในรัชสมัยของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 นั้น ทรงส่งเสริมให้สามัญชนขึ้นมามีตำแหน่งราชการในระดับสูงเป็นจำนวนมาก ในขณะที่เจ้าซึ่งมักจะถือตนว่า เป็นเจ้า มีสถานะเหนือกว่าสามัญชนนั้นถูกลดบทบาทลงจนแทบจะไม่มีตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฉะนั้นจึงเป็นไปได้ว่า พระวรกัญญาปทานซึ่งทรงมีฐานันดรเดิมเป็นหม่อมเจ้า เมื่อได้ทรงเป็นพระคู่หมั้นจึงคงจะทรงวางพระองค์ไปในทำนองที่ปรากฏในบทพระ ราชนิพนธ์ที่ว่า "...อย่าทะนงอวดองค์ว่าทรงศักดิ์ จะใฝ่รักแต่องค์พระทรง ศรี..." ซึ่งล้นเกล้าฯ คงจะทรงรับไม่ได้ในข้อนี้ ในเวลาต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณประไพ สุจริตกุล เป็นพระอินทราณี พระสนมเอก แล้วเลื่อนเป็น พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี แล้วเลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี อันเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยว่า มิได้ทรงถือพระองค์เป็นเจ้าเป็นไพร่ดังเช่นที่เจ้านายในสมัยนั้นทรงนิยมถือ ปฏิบัติกัน ดังมีพยานปรากฏในพระนิพฯธ์ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ที่ทงเล่าไว้ใน "สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น" ว่า เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นมีเจ้านายพระองค์หนึ่งประทับรถไฟชั้น หนึ่งเสด็จไปหัวเมือง เผอิญมีนายทหารชั้นนายพลที่มิใช่เจ้าเดินทางไปกับรถไฟขบวนนั้น และได้ไปนั่งที่ชั้นหนึ่งร่วมกับเจ้านายพระองค์นั้น เลยถูกไล่ให้ไปนั่งที่โบกี้อื่นเพราะทรงรังเกียจว่านายทหารท่านนั้นเป็น ไพร่ ทั้งที่นายทหารท่านนั้นก็ซื้อตั๋วรถไฟชั้นหนึ่งเหมือนกัน
สำหรับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเธอลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465 แต่เนื่องจากพระนางเธอลักษมีลาวัณ มิได้มีรัชทายาทได้ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว ทั้งสองพระองค์จึงมิได้อภิเษกสมรสกัน และทรงตัดสินพระราชหฤทัยแยกกันอยู่ พระนางเธอลักษมีลาวัณ ทรงแยกอยู่ตามลำพัง ณ พระตำหนักในซอยพร้อมพงศ์ ริมคลองแสนแสบ ทรงใช้ชีวิตอย่างสงบ และทรงใช้เวลาว่างในการทรงพระนิพนธ์ร้อยกรอง บทละคร และนวนิยายไว้เป็นจำนวนมาก โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า ปัทมะ วรรณพิมล และ พระนางเธอลักษมีลาวัณ ทรงดำเนินกิจการคณะละครปรีดาลัย ที่พระบิดาได้ทรงริเริ่มไว้ คณะละครปรีดาลัยในพระอุปถัมภ์ ได้สร้างศิลปินนักแสดงที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น มารุต, ทัต เอกทัต, จอก ดอกจันทน์
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทรงย้ายไปประทับที่ พระตำหนักลักษมีวิลาศ ถนนศรีอยุธยา และทรงพระนิพนธ์บทกวี และนวนิยาย เช่น ชีวิตหวาม เรือนใจที่ไร้ค่า ยั่วรัก โชคเชื่อมชีวิต ภัยรักของจันจลา และ เสื่อมเสียงสาป ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 คนสวนที่ถูกพระนางเธอลักษมีลาวัณไล่ออกไปคนหนึ่ง เห็นว่าทรงเจ้านายสตรี ทรงพระชรา และทรงอยู่ตามลำพัง กับทั้งเคยสังเกตว่าในตู้ชั้นล่างพระตำหนักลักษมีวิลาศมีเครื่องราช อิสริยาภรณ์ เข้าใจว่าเป็นของมีราคา ก็กลับเข้ามายังพระตำหนักลักษมีวิลาศ สี่แยกพญาไท และย่องเข้ามาทางข้างหลังใช้ชะแลงทำร้ายพระเศียรขณะประทับพรวนดินอยู่จนสิ้น พระชนม์ แล้วค้นทรัพย์สินเท่าที่หาได้หนีไป ได้ไปแต่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่ไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นเลย ชายคนสวนผู้นั้นจำนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วยไม่รู้จัก เจ้าของโรงรับจำนำเห็นผิดสังเกตจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ชายคนสวนผู้นั้นรับสารภาพถึงการฆาตกรรม และกล่าวว่าตนทราบแต่เพียงว่าพระนางทรงเป็นเจ้านาย ไม่คิดว่าจะทรงเป็นเจ้านายใหญ่ถึงเพียงนั้น ครั้งนั้น พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระเชษฐาต่างพระมารดา ได้รับโทรศัพท์จาก นางสาวแน่งน้อย แย้มศิริ นิสิตจุฬาฯ เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2504 เวลา 15.30 น. ว่าตนไปกดออดและโทรศัพท์เข้าไปยังวังลักษมีวิลาศ แต่ไม่มีใครตอบหรือรับสาย อาจจะมีเหตุร้าย พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เสด็จไปยังวังลักษมีวิลาศ และทรงพบพระศพอยู่บริเวณข้างโรงรถ พระชนมายุรวม 62 ชันษา
********** ********** **********
โอ้เจ้าหงส์ฟ้าเอย แสนงาม
เหตุไฉนถึงทรามทำตัวเย่อหยิ่งหนักหนา
อวดเป็นหงส์ทอง ลอยล่องฟ้า
เหยียดหยามปักษาพวกเดียวกันว่าต่ำเพียงดิน
ศักดิ์เจ้าเป็นหงส์ทอง โสภา
แต่สกุลนั้นหนาเจ้ามีค่าเพียงปักษิณ
อวดทะเยอทะยานเหิรลอยสูงเยี่ยมเมฆินทร์
เหยียดหยามชาวดิน
โบยบินข้ามหัวไม่กลัวเกรง
อย่าหยิ่งนักเลยนะเจ้า พลาดพลั้งจะเหงา
ซบเซาเศร้าทรวงเอง
เพราะเจ้านั้นไม่กลัวเกรง
เหยียดหยามกันเองว่าเป็นปักษาที่ต่ำวงศ์
โอ้ เจ้าหงส์ฟ้าเอย โสภี
อย่าทนงนักซี คิดดูให้ดีนะหงส์
หากลมบนพัดพา
ฝนฟ้ากระหน่ำเปียกองค์
พลาดอาจถลาลง
หงส์เอยปีกหักแล้วจะโทษใคร
เหตุไฉนถึงทรามทำตัวเย่อหยิ่งหนักหนา
อวดเป็นหงส์ทอง ลอยล่องฟ้า
เหยียดหยามปักษาพวกเดียวกันว่าต่ำเพียงดิน
ศักดิ์เจ้าเป็นหงส์ทอง โสภา
แต่สกุลนั้นหนาเจ้ามีค่าเพียงปักษิณ
อวดทะเยอทะยานเหิรลอยสูงเยี่ยมเมฆินทร์
เหยียดหยามชาวดิน
โบยบินข้ามหัวไม่กลัวเกรง
อย่าหยิ่งนักเลยนะเจ้า พลาดพลั้งจะเหงา
ซบเซาเศร้าทรวงเอง
เพราะเจ้านั้นไม่กลัวเกรง
เหยียดหยามกันเองว่าเป็นปักษาที่ต่ำวงศ์
โอ้ เจ้าหงส์ฟ้าเอย โสภี
อย่าทนงนักซี คิดดูให้ดีนะหงส์
หากลมบนพัดพา
ฝนฟ้ากระหน่ำเปียกองค์
พลาดอาจถลาลง
หงส์เอยปีกหักแล้วจะโทษใคร
dekpakdee
21-11-53
21-11-53
ช่างรวดเร็วทันใจดีจัง ขอบคุณค่ะนัองนายที่เอามาลงให้อ่าน
ตอบลบคนสมัยก่อนแต่งกลอนได้ไพเราะเพราะจับใจจริงๆ เนิ้อเริ้งก็น่าติดตาม
ตอบลบอึ้ง!!!....คร๊าบ
ตอบลบเศร้าเนาะ
ตอบลบที่ได้อ่านในเรื่อ สี่แผ่นดิน ยังพอคร่าวๆนะ..พอมาได้อ่าน จริงๆเศร้ายิ่งกว่าอีก
ตอบลบสี่แผ่นเรื่องอิงนิยาย แต่ นี่ซิเรื่อง จริง เฮ้อ
ตอบลบแง แง เศร้าจัง
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบชอบบทกวีมากไพรเราะมากมีค่ามากขออนุญาตและขอขมาที่เผยแพร่บทกลอนกวีด้วยนะค่ะ
ตอบลบผมมีอยู่ 1เล่มครับ
ตอบลบ